เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าเล่งจูเกียง
![]() | มัสยิดกรือเซะ และ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ยังเป็นที่ถกเถียงและไต่ถามกันอยู่เสมอว่า ตำนานมัสยิดกรือเซะ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และพี่ชายเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวชื่อว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ผู้ซึ่งได้มาอยู่ที่เมืองปัตตานี เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และได้แต่งงานกับสตรีมุสลิมนั้นเท็จจริงเป็นอย่างไร และใครคือลูกหลานผู้สืบสกุลต่อมา บทความนี้อาจมีคำตอบให้กับคุณ บทความเดิมที่ชื่อ Masjid Kersik เป็นภาษารูมี่ (ภาษายาฮาซาร์ มาเลเซีย) รวบรวมโดย ตนกู กูดิน ยะโก๊บ ผู้เป็นหลานเขยของตนกู อับดุลรอหมาน อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เรียบเรียงเป็นบทความโดย ดร.อิสมาแอล ฮาบัด และคุณสวาสดิ์ พิพิธภักดี ภรรยาของพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) บุตรคนโตของพระยาพิพิธเสนามาตย์ (ตนกูนิโซะ) อดีตเจ้าเมืองยะหริ่ง ได้มอบหมายให้อาจารย์ซาเฮด อับดุลเลาะห์ อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถอดแปลเป็นภาษาไทย ตีพิมพ์ในวารสาร รูสมิแล ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2534 |
![]() | ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ฉบับตระกูลคณานุรักษ์ เริ่มตั้งแต่พระจีนคณานุรักษ์สร้างศาลเจ้าเล่งจูเกียงเพื่อให้พระเซ๋าซูกง (พระหมอ) และเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวประทับนั้น มีคนในตระกูลคณานุรักษ์เป็นผู้ดูแลจัดการศาลเจ้าแห่งนี้ตลอดมา โดยเริ่มแรกก็เป็นพระจีนคณานุรักษ์เอง ต่อมามอบให้บุตรชายคนที่สาม คือ ขุนพิทักษ์รายาเป็นผู้ดูแล ภายหลังขุนพิทักษ์รายามอบให้นายดิเรก คณานุรักษ์ ผู้เป็นบุตรดูแล และปัจจุบันนายสมพร วัฒนายากร ซึ่งเป็นบุตรเขยของนายดิเรก คณานุรักษ์ และเป็นบุตรของขุนธำรงพันธุ์ภักดี กับนางสร้อยทอง (คณานุรักษ์) วัฒนายากร เป็นผู้ดูแลและจัดการ โดยแบ่งหน้าที่แก่กรรมการฝ่ายต่างๆ ช่วยจัดการอีกต่อหนึ่ง และปัจจุบันได้รับการสนับสนุนเอาใจใส่จากทางราชการในจังหวัดปัตตานีเป็นอย่างดี |
ตำนานเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยว ศาลเจ้าเล่งจูเกียง คือศาลเจ้าที่ประดิษฐานขององค์เจ้าแม่ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง ปัตตานี ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลเจ้าซูก๋ง" ตามหลักฐานที่จารึกอยู่ในศาลเจ้า ปรากฏว่า ตั้งขึ้นเมื่อวันชัยมงคล ปีบวนเละที่ ๒ ศักราชราชวงศ์เหม็ง ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา แม้ศาลเจ้านี้จะตั้งมาเก่าแก่นับได้หลายศตวรรษ แต่ด้วยบุญญาภินิหารของเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยว ศาลเจ้านี้จึงมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่ศรัทธาของสาธุชนเสมอมามิได้ขาด ความสำคัญของศาลเจ้านี้ยังปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีเคยเสด็จมา ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ถึงสามพระองค์ คือ ๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕, ๒) พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖, และ ๓) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน | |
![]() | เกร็ดความรู้เกี่ยวกับศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว โดย น.พ.ปานเทพ คณานุรักษ์ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี หรือที่มีชื่อเป็นทางการว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของปัตตานีมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ ได้มีผู้นำประวัติของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ข้าพเจ้า (นายแพทย์ปานเทพ คณานุรักษ์) เห็นว่ายังมีบางแง่มุมที่ไม่เคยมีท่านผู้ใดกล่าวถึง โดยเฉพาะแง่มุมของประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงมีความคิดที่จะเล่าเกร็ดความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความศรัทธาในเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการเขียนบทความครั้งนี้ข้าพเจ้าได้จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ได้ค้นคว้ารวบรวมมาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งเอกสารทางราชการ ตำรา และบันทึกของญาติผู้ใหญ่ รวมไปถึงคำบอกเล่าของญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นมิตรสหายกับญาติผู้ใหญ่ของตระกูลคณานุรักษ์ รวมถึงประสบการณ์ของข้าพเจ้าเอง |
![]() | รวมภาพพิธีกรรมงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน โดย ทศพร คณานุรักษ์ รวมภาพงานพิธีกรรมงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในแง่มุมที่ไม่ง่ายนักที่ใครๆ จะเคยได้เห็นมาก่อน อันได้แก่ พิธีปิดศาลเจ้าแม่ พิธีกรรมทอดเบี้ยเสี่ยงทาย พิธีอัญเชิญพระประจำตระกูลคณานุรักษ์ประทับเกี้ยว ที่บ้านกงสี และพิธีลุยไฟ ฝีมือการถ่ายภาพโดยนายทศพร คณานุรักษ์ บุตรชายคนที่สองของนายประเวศและนางสรัญพร คณานุรักษ์ และเป็นน้องชายคนรองของนายแพทย์ปานเทพ คณานุรักษ์ |
1 | [Go to top] |