หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้
![]() | สถูปหลวงพ่อทวดฯ สถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมภารองค์แรกของวัดช้างให้ สถูปนี้มีอายุยืนนานมาประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ สถูปนี้ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับทางรถไฟสายใต้ระหว่างหาดใหญ่ - สุไหงโก-ล๊ก ใกล้ชิดที่สุดระหว่างสถานีนาประดู่ กับสถานีป่าไร่ ได้เคยแสดงอภินิหารยึดขบวนรถไฟของทหารญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาแล้ว รถไฟขบวนนั้นติดตรึงอยู่กับที่ จะเคลื่อนต่อไปอีกไม่ได้ เครื่องรถจักรยังคงเดินตามปกติ ล้อเหล็กกำลังหมุนอยู่บนรางเหล็กในที่เดิม จึงเกิดความร้อนมากมีประกายไฟแดงพราวไปทั้งสองข้างขบวนรถนั้น อยู่สักครู่พนักงานหัวรถจักรและทหารญี่ปุ่นก็จนปัญญาไม่สามารถจะแก้ไข นำขบวนรถเคลื่อนที่ต่อไปไม่ได้อีก รถไฟขบวนนี้จึงทดลองแล่นมาและถอยหลังกลับอยู่ตั้งแต่ ๑๕.๐๐ น. จนกระทั่งใกล้จะค่ำก็ผ่านไปไม่ได้ ประชาชนชาวบ้านใกล้เคียงชวนกันมายืนดูความอัศจรรย์ครั้งนี้อย่างล้นหลาม |
![]() | ประวัติการสร้างพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดราษฎร์บูรณะ หรือ วัดช้างให้ เดิมเป็นวัดเก่าแก่รกร้าง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๘ นางสร้อยทอง วัฒนายากร ภรรยาขุนธำรงพันธุ์ภักดี บุตรีขุนพิทักษ์รายา ขายช้าง ๑ เชือก แล้วร่วมกับนางเป็กแฉ้ กุลโชติ บุตรีขุนจำเริญภักดี และนางยี่เหนี่ยวภรรยาคุณพระจีนคณานุรักษ์ นำเงินที่ได้ไปบูรณะวัดช้างให้จนเสร็จและมีงานฉลองในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ และอีก ๑๖ ปีต่อมาในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้รับนิมิตฝันว่าหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด รับตนไว้เป็นศิษย์ และนายอนันต์ได้ไปที่วัดช้างให้เป็นครั้งแรกในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ พบท่านอาจารย์ทิม ธัมมธโร เจ้าอาวาส และรับอาสาจัดสร้างพระเครื่องถวายเพื่อหาทุนสร้างโบสถ์ที่ค้างคาอยู่ และวันอาทิตย์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็คือวันพิธีปลุกเสกและแจกจ่ายพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด รุ่นแรก ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของหลวงพ่อทวดเป็นที่เลื่อมใสและประจักษ์แก่บุคคลในวงกว้างทุกชนชั้น ทั้งในและต่างประเทศ กล่าวกันว่าแม้พระเครื่องหลวงพ่อทวดองค์ปลอมก็ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์ ขอเพียงผู้ที่ได้ครอบครองมีความเลื่อมใสและระลึกถึงคุณของหลวงพ่อทวดฯ และอาราธนาคาถา "นะโม โพธิสัตโต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา" |
![]() | "เรื่อง หลวงพ่อทวด" (ตอนที่ ๑) หนังสือประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ วัดช้างให้ เล่มนี้จัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองพระอุโบสถวัดช้างให้ เมื่อวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยนายอนันต์ คณานุรักษ์(ผู้เขียน) ได้รวบรวมเรื่องมาจาก ตำนานวัดพะโคะ และจากนิยายโบราณซึ่งเล่าสืบต่อกันมา และด้วยความเมตตาของพระคุณเจ้าถึง ๔ องค์ด้วยกัน กล่าวคือ ๑) ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธฺมมธโร) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ๒) ท่านเจ้าคุณพระปริวัติวรากร วัดตานีนรสโมสร ๓) ท่าน สง โฆสโกเจ้าอาวาสวัดพะโคะ และ ๔) พระอุปปัชฌาย์ดำ ติสฺสโร เจ้าอาวาสวัดศิลาลอย อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา |
"เรื่อง หลวงพ่อทวด" (ตอนที่ ๒ ตอนจบ) นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้รวบรวมเรื่องราวจากตำนานเก่าๆ และนิยายซึ่งเล่าสืบต่อๆ กันมาแต่โบราณ ด้วยเจตนาแน่วแน่และแรงกล้ายอมเสียสละด้วยประการทั้งปวง เพื่อสนองพระคุณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตัวอย่างเช่น ตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะ ที่นายอนันต์อ่านพบจากหนังสือตำนานเมืองพัทลุงและตรัง เล่มที่ ๑ หน้า ๑๓ กล่าวไว้เป็นคำกลอนตอนหนึ่งความว่า " ท่านเป็นชาวตลุงชื่อว่าสามีราม ได้เจอะพราหมณ์ผู้เฒ่าชาวลังกา | |
คุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวด ( หลวงปู่ทวด ) รวมเรื่องราวคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ เท่าที่ปรากฏเห็นประจักษ์แล้ว จากการบันทึกของนายอนันต์ คณานุรักษ์ จากหนังสือประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวดฯ วัดช้างให้ จัดพิมพ์เนื่องในงานฉลองโบสถ์วัดช้างให้ วันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ |
[Go to top] |