ประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญเมืองปัตตานี
![]() | ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นบุกปัตตานี สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อยามใกล้รุ่งของวันจันทร์ที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเป็นหลายทาง ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำปัตตานี ยกพลขึ้นบกที่ตำบลรูสมิแล ริมฝั่งทะเลตลอดมาจนถึงด่านภาษี ที่บริเวณคอกสัตว์และถนนปากน้ำ วางแนวกันกว้าง ได้เกิดการปะทะยิงต่อสู้กับกองทหาร ร.พัน ๔๒ ส่วนด้านบริเวณที่ใกล้จังหวัดและบ้านพักราชการ มีกองตำรวจ ยุวชนทหาร ข้าราชการ ราษฎร ร่วมมือกันต้านทาน ปรากฏว่ามีข้าราชการ ตำรวจ ยุวชนทหาร ราษฎร เสียชีวิตประมาณ ๒๔ คน เป็นยุวชนทหาร ๕ คน ทหารไทย ร.พัน ๔๒ เสียชีวิตประมาณ ๔๐ คน ส่วนทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตมากมายถึงร้อยกว่านาย ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำปัตตานีญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ริมทะเลตรงข้ามกับด่านภาษี ยกขบวนไปตามถนนนาเกลือ ปะทะการต้านทานของเลือดไทยแท้ๆ ซึ่งมีปืนสั้น ปืนแฝด ปืนเดี่ยว ปืนเมาเซอร์ต่อด้าม แบบเลือดชาวบ้านบางระจัน ปะทะกันอยู่นานประมาณ ๕ นาที ก่อนที่กองกำลังตำรวจประมาณ ๑๐ นายได้เข้าทำการร่วมมือต่อสู้ต้านทานด้วย สามารถต้านทานอยู่นานถึง ๒ ชั่วโมง กว่าที่จะมีคำสั่งจากทางรัฐบาลให้ยุติการยิงต้านทาน การปะทะกันด้านถนนนาเกลือนี้ ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต ๓ นาย ฝ่ายเรามีเพียงได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ไหล่ ๑ คน |
![]() | สภาพเมืองตานี ในพ.ศ. ๒๔๒๗ จากหนังสือ ชีวิวัฒน์ โดย เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จวังบูรพาฯ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงเรียกพระนามว่า "ท่านเล็ก" หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกพระนามท่านว่า "สมเด็จวังบูรพา" ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวสภาพบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของผู้คนจากการเสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตกในแหลมมลายูฟากฝั่งตะวันออกเป็นเวลา ๒๕ วัน ถวายแด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ในหนังสือ ชีวิวัฒน์ ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอกฉศก ๑๗ ศักราช ๑๒๔๖ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๗) |
ประวัติการสร้างเมืองปัตตานี ปัตตานี เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีชื่อเรียกในเอกสารต่างๆ มากมาย อาทิ ตานี ปะตานี ปาตานี ฟาฏอนี โตหนี่ ต้าหนี่ เป็นต้น เคยเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญมากในอดีต ชาวโปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับเมืองปัตตานี ตามด้วย ชาวฮอลันดา และอังกฤษ ชาวญี่ปุ่นและจีนก็ได้เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย เนื่องจากมีชัยภูมิที่ดี เหมาะเป็นที่จอดเรือเพื่อค้าขาย และยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์อีกด้วย | |
"พญาตานี" ปืนใหญ่ใส่อดีตอันรุ่งเรืองของ กษัตริยาแห่งปัตตานี ตำนานปืนใหญ่นางพญาตานีได้นำไปสู่เรื่องราวของ "กษัตริยา" ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขับเคี่ยวกับอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้ ปืนกระบอกนี้จึงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่อาวุธสงคราม แต่ยังบอกเรื่องราวในอดีตของ การเมือง เศรษฐกิจ สัมพันธภาพระหว่างสยามกับปัตตานี และเป็นอนุสรณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของปัตตานีได้เป็นอย่างดี | |
ปัตตานี ในราวปี พ.ศ.๒๔๒๔ จากบันทึกของฝรั่งผู้มาเยือน (ตอนที่ ๑) เรื่องราวสภาพความเป็นไปและภูมิประเทศของเมืองปัตตานีจากสายตาของนายวิลเลี่ยม แคเมอรอน ฝรั่งผู้มาเยือนเมื่อครั้ง พ.ศ. ๒๔๒๔ บทแปลโดย นายมงคล วัฒนายากร จากบทความเรื่อง On The Pattani โดย William Cameron จากหนังสือ Journal of the Singapore Branch Royal Asiatic Sociel ตีพิมพ์เมื่อ November 11, 1883 (ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๖) |
[Go to top] |