คติธรรม ของ ท่านเจ้าคุณญาณโมลี วัดตานีนรสโมสร
ไสยศาสตร์ แปลว่า ความรู้เรื่องการนอนของใจ ได้แก่ทำใจให้สงบ จากอารมณ์ที่ปรารถนาบ้าง และไม่ปรารถนาบ้าง จนใจวางอารมณ์นิ่งอยู่กลางๆ หรือที่เรียกว่า วางเฉย ใจเช่นนี้แหละเรียกว่า ใจนอน
เมื่อนำไปใช้เข้ากับอารมณ์ใด ย่อมเปนใจที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจอย่างน่าอัศจรรย์ สามารถที่จะบันดาลเหตุการณ์และสรรพสิ่งต่างๆ ให้เปนไปตามความปรารถนา ผู้ที่ศึกษาความรู้การนอนของใจนี้ ย่อมทำอะไรได้แปลกประหลาดเปนพิเศษ เช่นการอยู่ยงคงกะพันชาตรี ไปมาไหนๆ ได้รวดเร็ว ฯลฯ เปนผู้มีเมตตามหานิยม เปนต้น
ความรู้ประเภทนี้จึงเปนที่นิยมของท่านบุรพชนชาวไทยมาแต่โบราณกาลจนตราบเท่าทุกวันนี้ แต่มีหลักธรรมดาอยู่ว่า สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นก็มีโทษมหันต์ ไสยศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าผู้เรียนรู้แล้วนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นเปนผู้ร้ายปล้นสดมภ์ หรือเอาไปใช้เปนอาถรรพณ์ฝังรูป ทำให้ผู้อื่นทุกข์ยากลำบาก ก็มีผลร้ายสท้อน ผู้นั้นหาความเจริญมิได้ กลายเปนคนคุ้มดีคุ้มร้ายดูน่าสลดใจ แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ดี เช่นต่อสู้เพื่อประเทศชาติ หรือช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ก็มีผลดีสท้อนให้ผู้นั้นมีความเจริญด้วยลาภยศสรรเสริญสุข อันเปนความประสงค์ของผู้สร้างตำหรับไสยศาสตร์ที่แท้จริง
นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้นำตำราไสยศาสตร์ ซึ่งได้นำสืบๆ กันมาจากต้นตระกูล เพื่อเปนของขวัญแก่ทหารของชาติ และแจกจ่ายแก่ญาติมิตร ในวันขึ้นปีใหม่ ฑ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่อได้อ่านดูแล้วเห็นว่าเปนกุศลเจตนา ที่ปรารถนาดีต่อประเทศชาติ จึงได้ยอมเสียสละวิชาความรู้อันเปนของประจำตระกูลให้แก่เพื่อนร่วมชาติ ในยามประเทศชาติอยู่ในภาวะคับขัน แต่เพื่อป้องกันผลร้าย มุ่งหมายให้เกิดแต่ผลดีแก่ผู้เล่าเรียนวิชาไสยศาสตร์เล่มนี้ ขอให้ผู้เรียนถือหลักเปนคติธรรมว่า
๑. จะไม่นำวิชานี้ไปใช้ในทางที่ผิดธรรม
๒. จะใช้เพื่อป้องกันตน ญาติมิตร และประเทศชาติ
๓. หากจำเปน ก็เมื่อตนเปนฝ่ายถูก มีความบริสุทธิ์ใจ
หากท่านผู้ใดปฏิบัติได้ตามคติธรรมนี้ วิชาไสยศาสตร์ที่ท่านเรียนก็จะดลบันดาลให้เกิดความศักสิทธิ์ขลัง ผลสท้อนทำให้ท่านเปนผู้เจริญด้วยจตุรพิธพร คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลทุกท่าน ฯ
พระญาณโมลี
วัดตานีนรสโมสร
๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๗
"หลักการปฏิบัติ"
ข้าพเจ้าเคยศึกษาต่อท่านผู้รู้และอาจารย์หลายท่าน และทั้งได้พบในตำราเก่าและใหม่ ให้หลักปฏิบัติเอาไว้ มีแนวเดียวกันดังนี้
๑. เมื่อจะทำกิจการใด เกี่ยวกับ เวทย์มนต์อาคมแล้ว เริ่มต้นให้ระลึกมั่นในคุณพระรัตนไตร คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ เปนประธานขอความประสิทธิ์ขลัง
๒. จงตั้งใจให้เปนสมาธิ และให้เกิดความเชื่อมั่นแน่วแน่ในวิชาอาคมนั้นๆ จงตัดเสียซึ่งความลังเลใจใดๆ
๓. ถ้าจะทำฝ่ายอิทธิฤทธิ์และคงกะพัน ต้องทำใจให้เข้มแข็ง ถ้าจะทำทางเมตตามหานิยม ก็ต้องทำใจให้อ่อนโยน ปล่อยอารมณ์ให้สงบเยือกเย็น
๔. ถ้าจะปลุกเสกใดๆ หรือปัดเป่า จงพยายามเพ่งกระแสจิตให้แน่วแน่ลงสู่สิ่งนั้นๆ เช่นเสกน้ำมนต์ เปนต้น
ผู้ใดปฏิบัติได้ตามหลักนี้ แม้จะได้เวทย์มนต์มาจากเด็กโยมวัด ก็สามารถทำให้เกิดความประสิทธิ์ขลังสมเจตนาแน่
อนันต์ คณานุรักษ์
*****บางส่วนของคาถาอาคม กำลังทยอยลงเพิ่มเติมครับ*****
"ไหว้สรรพคุณ"
นั่งพนมมือหน้าพระบูชา หรือบนที่นอน ภาวนาว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ปัถวีชัยยะมุงคุณ ฯไหว้สรรพคุณเปนมงคลว่า ๓ จบ แล้วว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ปัถวีชัยยะมุง ฯ บทนี้ว่า ๓ จบ ขอให้สรรพคุณคุ้มครองกันสรรพภัย ฯ
"พระอิติปิโสถอยหลัง"
ติวาคะภะโท พุธนังสานุสมะวะ เทถาสัตถิระสา มะธัมสะริปุโร ตะนุตอะทู วิกะโลโต คะสุโน ปันสัมนะระจะชา วิชโทพุทธสัมมาสัมหัง ระอะวาคะภะโส ปิติอิ ฯ
พระคาถานี้มีคุณานุภาพมากหลายเหลือจักพรรณนา จึงขอแจ้งย่อๆ พอควรดังนี้ ภาวนาทุกค่ำคืนก่อนจะนอนเปนประจำ จะเปนที่เมตตาแก่เทพยดาและปวงชน อายุจะยืนยาว คุ้มกันภัยสัตรูจะทำร้ายไม่ได้เลย ปีศาจร้ายก็เกรงกลัวไม่อาจเข้าใกล้ เสดาะโซ่ตรวนขื่อคา ภาวนาเป่าลงร่ำไปหลุดแล ฯ เสกน้ำมนต์รดศีรษะและดื่มกิน สะเดาะลูกที่คลอดไม่ออกจะออกแล ฯ จงเสก ๑๐๘ คาบ ก้างปลาติดคอก็ใช้ได้เช่นกัน เสกหมากพลูหรือน้ำมนต์ ๑๐๘ คาบ ให้คนเจ็บกินรดศีรษะ แก้คุณกระทำทุกชนิด ทั้งปัดปอนด้วย เสกข้าวกินทุกมื้อเปนประจำ คงกะพันแก่อาวุธ เอาลิ้นแทงอากาศ (ลิ้นดุนเพดาน) อึดใจภาวนา เมื่อผจญสัตรู เปนมหาจังงัง สัตรูกลัวอำนาจยิ่งนัก เสกแป้ง มันหอม ทาหรือใส่ผม เปนเสน่ห์แก่หญิงชายทั่วไป ภาวนาลูบทาขึ้นเช้าและค่ำเปนประจำทุกวัน เปนคงกะพันและมีอิทธิฤทธิ์กล้าแข็ง ถ้าจะเดินทางไกลบ่ายหน้าทางทิศที่จะไป ยืนภาวนา ๓ คาบจึงยกเท้าออกเดิน จะเกิดสวัสดีสถาพร แคล้วคลาดจากภัยนาๆ ประการ ฯ
"พระอิติปิโสแปดด้าน"
-
อิระชาคะตะระสา ชื่อ กะทู้ ๗ แบก
ประจำทิศบูรพา
-
ติหังจะโตโรถินัง ชื่อ ฝนแสนห่า
ประจำทิศอาคเนย์
-
ปิสัมระโลปุสัทพุธ ชื่อ เกลื่อนสมุทร
ประจำทิศทักษิณ
-
โสมะนากะวิถาโท ชื่อ นารายณคว้างจักร์
ประจำทิศหรดี
-
ภะสัมสัมวิสะเทภะ ชื่อ กวาดป่าหิมพานต์
ประจำทิศปัจฉิม
-
คะพุทธะปัญทู ธัมมะวาคะ ชื่อ นารายณ์เกลื่อนจักร์
ประจำทิศพายัพ
-
วาโทโนอะมะวา ชื่อ นารายณถอดรูป
ประจำทิศอุดร
-
อะวิสสุคนุสานุสติ ชื่อ นารายณ์แปลงรูป
ประจำทิศอีสาน
สิทธิการิยะพระอิติปิโสแปดด้าน ฤทธิ์พ้นคณนา อาจจะกันได้สารพัดตามปรารถนา พระอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่าฝอะท่วมหลังช้าง มีอุปเทห์มากหลายเหลือที่พรรณนา ท่านกล่าวไว้ย่อๆ ให้ใช้ตามอุปเทห์ดังต่อไปนี้
ถ้าจะไปทางไกลแห่งหนใด ให้ภาวนาพระคาถาประจำทิศที่จะไป จะคุ้มกันเหตุเภทภัยไม่แผ้วพาน ถูกพิษผีหลวงหรือหลาวเหล็กก็ไม่มีภัย จะไปค้าขายก็เกิดผล นอกจากนี้ให้ใช้เปนบท ๆ ไปดังนี้
บทที่ ๑ กะทู้ ๗ แบก เสกข้าวกินทุกมื้อเปนประจำทุกวัน คงกะพันแก่อาวุธ ภาวนาเข้าสู้กับช้างอาจง้างเอางาหัก กำลังหนักกว่าช้างสาร ให้มัสการครูบรรยาย พระฤๅษีทั้งหลาย ๗ พระองค์ คุณครูทั้งสิ้นมา ท่ายเร่อยู่ทิศบูรพา ภาวนาอย่ากลัวมัน จงหันหน้าสู่ทิศนั้น
บทที่ ๒ ฝนแสนห่า ให้ภาวนาเมื่ออดน้ำวันยังค่ำ อย่ากลัวอยาก จงเสกหมาก ๑๕ คำกินถนำไปเถิดหนา นึกปรารถนาให้ฝนตก พระคาถายกใส่ไส้เทียน แล้วจงเพียรภาวนาพระคาถาแสนเก้าพัน ระลึกถึงชั้นเทวดาและอินทร์พรหมสิ้นทั้งหลาย ฝนตกเนื่องอย่าร้อนใจ เปนอะไรเสกน้ำพ่นถ้วน ๗ หนก็จะหาย เคารพครูประสิทธิ์ ท่านประจำทิศอาคเนย์
บทที่ ๓ เกลื่อนสมุทร ฤทธิ์สุดเสกพริกไทย ๗ เมล็ด เสก ๗ หน แล้วจงพ่นลงที่ฝีสัก ๓ ทีก็จะสูญ จะเสกปูนสูญฝีก็ได้ แม้ความไข้ก็ได้จะหาย เร่งตั้งใจภาวนา ลงกระดาษทำไส้เทียน แล้วจงเขียนพระคาถา ล้อมให้ครบตามกำลังเทวดาของผู้ไข้นั้น เทียนนั้นไซร้หนัก ๑ บาท จุดบูชาพระนั่งภาวนา โรคโรคานั้นจะสูญสิ้น จงหันหน้าไปทางทิศทักษิณแล้วบรรยาย
บทที่ ๔ พระนารายณ์คว้างจักร์ ฤทธิ์ศักดิ์มากนักหนา ภาวนาให้มั่นเมื่อผจญสัตรู ระลึกอยู่ในใจ สัตรูไซร้หย่อนฤทธา แขนและขาให้อ่อนเพลีย ใจละเหี่ยคิดย่อท้อ ไม่กล้าต่อสู้กับเรา ครูเฒ่าท่านกล่าวไว้ ท่านประจำทิศหรดี
บทที่ ๕ กวาดป่าหิมพานต์ เดชเชี่ยวชาญเลิศล้น แม้นเดินหนพบเสือช้าง ใจกระด้างแรดโคควาย โจรผู้ร้ายเปนคู่ขับ จงอึดใจภาวนา เปนมหาจังงัง มันหยุดยั้งไม่เข้าใกล้ สัตรูร้ายนั้นแคล้วคลาด อย่าประมาทจงภาวนา ทุกเวลาค่ำและเช้า จงบ่นเล่าพระคาถาเปนมหามงคล จงหันหน้าไปทิศประจิม
บทที่ ๖ นารายณ์เกลื่อนจักร์ ฤทธิ์นักครูท่านบอก ลูกไม่ออกเสกน้ำมนต์ ๑๐๘ หนกินเข้าไป ประพรมบนศีรษะ ดุจสวะจากคลองน้อย จงคอยดคล้อยโดยคล่อง ๆ สะเดาะของอื่นเสกวารี ถ้าไม่มีเสกน้ำลาย เป่ากระจายหลุดด้วยฤทธิ์ ครูอยู่ทิศพายัพ
บทที่ ๗ นารายณ์ถอดรูป เลิศฤทธิ์สุดศักดา ภาวนาสูบลมเข้าไป ยืนมั่นนับภาวนา จงเพ่งตาดูเงาไซร้ ถ้าเงาหายเปนกำบัง คนสะพรั่งไม่เห็นเรา อาจารย์อยู่ทิศอุดร จงหันหน้าทางทิศนั้น
บทที่ ๘ นารายณ์แปลงรูป อย่าระคายเร่งภาวนา สัตรูแปลกตัวเรา เสกเป่าสะเดาะ ๑๐๘ คาบ เป่ากระหน่ำมันลงไป ทนไม่ไหวหลุดหมดสิ้น อย่าถวิลเห็นประจักษ์ ถ้าหากรักทางเมตตา แป้ง มันหอมมาเสก ๑๐๘ ที เก็บเอาไว้เวลาใช้เสก ๗ หน ใส่ผมทาหน้าตน เปนเสน่ห์แก่หญิงชาย เขารักใคร่ดังลูกหลาน ครูท่านอยู่ทิศอีสานเร่งบูชา ภาวนาก่อนจะนอนสถาพรนักแล ฯ
พระคาถาบท อะวิสสุคนุสานุสติ ฯ นี้ จงนั่งภาวนาลูบพาขึ้นตั้งแต่ปลายเท้าถึงหน้าครั้งละ ๓ ที เช้าค่ำเปนประจำทุกวัน ตาจะแดงดังครุฑเปนมหาอำนาจยิ่งนัก สัตรูย่อมกลัวเกรง ถ้าสัตรูล้อมไว้จะหนีออกทางทิศใด ให้เอาพระคาถาทิศนั้นภาวนา ถ้าพักแรมคืนในที่ระแวงภัย ให้เอาดินหรือหินมา ๘ ก้อน ภาวนาพระคาถาประจำทิศไหนก็ให้คว้างหินหรือก้อนดินไปทางทิศนั้น จงครบทั้งแปดทิศ สัตรูเข้ามาไม่ถึงเรา นอกจากนี้หาวิธีใช้เอาตามปัญญาเถิด ฯ
"พระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์"
"พระคาถามหาเย็น"
"คาถาคงเมล็ดข้าว"
"แต่งตัวเปนมงคล"
เมื่อจะนุ่งผ้าหรือกางเกง ให้ปฏิบัติดังนี้เพื่อเปนศิริมงคล ฯ
นุ่งผ้าหรือกางเกง ให้ว่า เอารกหนาแม่มารองนั่ง ฯ
สวมเสื้อ ให้ว่า เอารกบางแม่มาหุ้มตัว ฯ
รัดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอว ให้ว่า เอาสายสะดือพันรอบเอว กายะพันธะนัง ฯ
สวมหมวกหรือผ้าโพกศีรษะ ให้ว่า เอาน้ำทังแม่มาทูลหัว มาเปนกรงจักร์แก้ว ครอบตัวของลูกไว้แล้ว นิตติ จิตติ จับปัตติสนธิ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ ฯ
ให้ปฏิบัติเปนประจำตลอดไป เปนมงคลแก่ตัว ย่อมแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งมวล เปนสง่าราศรีและอำนาจเหนือสัตรู อาวุธนาๆ ไม่เข้าใกล้ตัวเราเลย ฯ
"พระมหาประเจียด"
อึอิอะนาอะระหัง ฯ
นั่งบ่ายหน้าสู่ทิศบูรพาหรือทักษิณ วางอารมณ์ให้สงบ เอาแม่มือข้างขวาตั้งทับเข้าที่สะดือ (เรียกว่าหลัก) แล้วกลั้นใจภาวนาบิดหมุนแม่มือไปทางซ้ายเต็มอึดใจ ๑ ที หรือ ๑ รอบ แล้วตั้งแม่มือใหม่แต่ภาวนาบิดหมุนกลับมาทางขวา ๑ ที หรือ ๑ รอบ ทำวันละ ๒ เวลาเช้าค่ำเปนประจำทุกวัน เปนมหาประเจียด อาวุธนาๆ ไม่ต้องเลย ปืนยิงมาเปนห่าฝนก็บ่มิต้องกายเราวิเศษนัก หากจะภาวนาบิดหมุนไปแต่ข้างเดียวก็จะประเสริฐยิ่งนัก แม้จะกุมชายพกไว้ก็แทงไม่ถูก แต่การปฏิบัติอย่างนี้องคะชาติจะหดสั้นไม่มีเหลือเลย บทนี้วิเศษยิ่งนัก ฯ
"คาถาทำประเจียด"
อึฝนตกก็ไม่ต้อง อะฟ้าร้องก็บ่มิถึง แม่จูบลูกก็บ่มิถูก เปียกก็บ่ห่อนเปียก แห้งก็บ่ห่อนแห้ง ฯ
เมื่ออาบน้ำแล้ว ให้ภาวนาพาขึ้นลูบจากข้างสะเอวถึงศีรษะเต็มอึดใจ ๓ ที ทำทุกครั้งที่อาบน้ำแล้วเปนประจำทุกวัน ต่อนั้นก็ให้หลังมือข้างขวาเช็ดที่ใต้รักแร้ข้างซ้าย ว่า "สะเล๊าะ" เอาหลังมือข้างซ้ายเช็ดใต้รักแร้ข้างขวา ว่า "สะแล๊ะ" ใช้คู่กันเมื่ออาบน้ำแล้วเปนประจำ เปนประเจียดแคล้วคลาดอาวุธนาๆประการ ฯ
"พระบารมีกางทัศ"
อิติบารมีตาดึงษา อิติสะปัดอุมาคะตา อิติโพธิมนุษย์ปัตโต อิติปิโส เจ็ดเตนะโม ฯ
ได้เมื่อพระพุทธผจญกับพระยามาร มารพ่ายแพ้ถอยหนี หาเล่ห์ใช้ได้มากมาย เสกข้าวกินทุกมื้อเปนประจำคงกระพันชาตรี ภาวนามั่นไว้สรรพสัตรูทำร้ายมิได้เลย แม้จะเข้าสนามรบก็ดีย่อมแคล้วคลาดภัยนา ๆ ประการ จะไปแห่งใดจงบ่ายหน้าสู่ทิศที่จะไป ยืนอึดใจภาวนา ๓ ทีจึงไปเถิด คุ้มกันภัยอันตรายได้ทุกประการ สัตรูทำร้ายไม่ได้ เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้าราษีดีเปนที่เมตตาแก่ฝูงชน ภาวนาต่อสู้กับสัตรูแคล้วคลาดอาวุธทั้งปวง เข้าที่อับจนมั่นภาวนาไว้จะปลอดภัย นอกจากนี้หาเล่ห์เอาตามปัญญา ฯ
"พระคาถาเรียกมนต์เข้าตัว"
สะอะระนะ สะวะระอะ มาเรโส ฯ
กลั้นใจภาวนาเต็มอึดใจ สูบลมเข้าท้องทำ ๓ ที เรียกคาถาอาคมเข้าตัว เพราะเวทย์มนต์ใด ๆ ย่อมเข้าออกไม่ประจำที่ ฯ
"คาถาปิดอักขระ"
นะปิดอักขระ นะปิดสะทะ ฯ
เมื่อทำวิชาอาคมแล้วให้เอามือปิดกระหม่อมภาวนาเต็มอึดใจ ๑ ที ปิดอาคม ฯ
"คาถาผูกอักขระ"
พุทธังผูก ธัมมังผูก สังฆังผูก พุทธังรัตตนัง ธัมมังรัตตนัง สังฆังรัตตนัง
กลั้นใจภาวนาเอานิ้วมือเวียนรอบสะดือเต็มอึดใจ ๑ ที ผูกอาคม ฯ
"พระคาถาชินะปัญชร"
"นมัสการคุณ"
"พระคาถาต่อกระดูก"
นังสังมังเส โลตังโลเต พุทธาจัตตาโร เอโกปัตโต ข้อหักกูจะต่อ กระดูกหักกูให้ติด นะมิดชิดคิดอิติ ฯ
สเกน้ำมันงาตามกำลังวัน ทาแผลที่กระดูกแตกหรือหักพร้อมด้วยปัดเป่าแล้วเข้าเฝือกไว้ และปัดเป่าทุกวันกว่าจะหายสนิท ฯ
"คาถาบูชาพระเคราะห์"
พุทโธโมเมเพวานัง สรรพเคราะห์ชะเตสูนยัง จันทรทังสะสิระวิเสาร์โร ครูราหู เกตุ จะมหาลาภัง สรรพเคราะห์ทุกขังภะวันตุเม ฯ
ภาวนาเวลาจะนอนทุกค่ำคืน ไหว้พระเคราะห์ที่ร้ายให้กลับเปนดี เสกน้ำประพรมรดศีรษะให้ผู้อื่นก็ได้สะเดาะพระเคราะห์ ฯ
"พระคาถาขัดเบ็ญขันธ์"
อิตินะขัดขันธ์แก้ว ขัดขันธ์ไว้แล้ว แผ้วไสยะไสยัง นะอิติ
อิติโมขัดขันธ์แก้ว ขัดขันธ์ไว้แล้ว แผ้วไสยะไสยัง โมอิติ
อิติพุทขัดขันธ์แก้ว ขัดขันธ์ไว้แล้ว แผ้วไสยะไสยัง พุทธอิติ
อิติทาขัดขันธ์แก้ว ขัดขันธ์ไว้แล้ว แผ้วไสยะไสยัง ทาอิติ
อิติยะขัดขันธ์แก้ว ขัดขันธ์ไว้แล้ว แผ้วไสยะไสยัง ยะอิติ ฯ
เสกน้ำล้างหน้าทุก ๆ เช้าเปนประจำ มีสง่าราษีสุกใสรุ่งเรือง เปนที่เมตตาแก่ปวงชนชายหญิง หน้าตาราษีไม่แก่เร็วไปตามวัย ถ้ารู้สึกขุ่นมัวจิตรใจเนื่องจากขลังอาคมหรือไม่สบายใด ๆ ให้เสกน้ำล้างหน้ารดศีรษะและดื่มกิน เสกหมากพลูกินก็ได้ ฯ
ไชยยะพุทธัง ไชยยะธัมมัง ไชยยะสังฆัง ฯ เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้าเจริญตัวและเจริญอาคม ฯ
"คาถาคุ้มตื่น"
อึกุมมะ มะถืออะ อะถือมะ ฯ
ภาวนาลูบพาขึ้นจากปลายเท้าถึงศีรษะ จะทำให้ผู้อื่นก็ได้ เสกพริกไทย ๗ เมล็ดให้กินก็ได้ คุ้มกันจิตรใจ มิให้ตื่นตกใจ ฯ
"ตำรายามหาวิเศษ"
ต้นเหงือกปลาหมอ หรือบางคนเรียกว่า ต้นหนามหมอ เอา ๒ ส่วนตากแห้ง พริกไทย ๑ ส่วน รวมเข้ากันบดเปนผงละเอียดละลายน้ำผึ้งรวงดี ทำเปนลูกกลอนกินวันละ ๓ เมล็ดเท่าเมล็ดพุดทรา กินเปนประจำทุกวันเปนยาอายุวัฒนะมีคุณดังนี้ ฯ
กินยา ๑ เดือน เกิดมีสติปัญญาดี
กินยา ๒ เดือน ราศรีงาม เปนที่พอใจมนุษย์
กินยา ๓ เดือน ริสสีดวง ๑๒ จำพวกหาย
กินยา ๔ เดือน กองลม ๑๒ จำพวกและความดันโลหิตไม่มีเกิดขึ้นเลย ผู้ที่เปนอยู่แล้วก็แก้ได้
กินยา ๕ เดือน โรคโรคาในกายไม่มีเลย
กินยา ๖ เดือน เดินทางวันละโยชน์ก็ไม่เหนื่อย
กินยา ๗ เดือน เลือดลมในร่างกายบริบูรณ์ดี
กินยา ๘ เดือน ทำลายกองเสมหะเสียงไพเราะดี
กินยา ๙ เดือน คงกะพันแก่อาวุธทุกประการ ฯ
ต้นตำรายานี้ได้จากผู้พบลายแทงจังหวัดพิศณุโลกนำถวายกรมพระยาดำรงราชานุภาพๆ ให้ปู่ข้าพเจ้าคัดเขียนมาตามคำอุทิศของพระฤๅษี เจ้าของยาที่ให้ไว้เปนทานแก่ปวงชน ข้าพเจ้าได้ทดลองทำกินอยู่ ๒ เดือนปรากฎว่าดีจริง ต่อมาได้เผยแพร่ให้เพื่อนลองใช้ดู ปรากฎว่ามีสรรพคุณเปนที่พอใจเขามาก
เมื่อปรากฎเช่นนี้ข้าพเจ้าได้เขียนลงตำรานี้เพื่อประโยชน์ของผู้เจ็บป่วยที่สนใจ และตรงตามเจตนาของเจ้าของยา ฯ
อนันต์ คณานุรักษ์
๒๙ ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง
จังหวัดปัตตานี
ตำราไสยศาตร์
ของ
นายอนันต์ คณานุรักษ์
พิมพ์ขึ้นแทนของขวัญ ให้แก่ญาติมิตรและทหาร
พิมพ์ครั้งที่ ๒ จำนวน ๕๐๐๐ เล่ม
๑ มกราคม ๒๔๙๘
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับผู้ที่จะนำไปพิมพ์เพื่อการกุศล)